อุปกรณ์ในการเลี้ยง

 ตู้ที่ใช้เลี้ยง
 
     ปลาทองนับเป็นปลาที่มีของเสียเยอะมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีขนาดตัวป้อมสั้นสวยงาม ทำให้โครงสร้างร่างกาย ขนาดลำใส้ สั้นตามไปด้วย จึงทำให้ปลาทองกินบ่อย
และขับถ่ายของเสียบ่อย และปลาทองยังเป็นปลาที่มีเมือกเยอะอีกด้วย ถ้าคุณเลือกตู้ที่มีขนาดเล็ก ปริมาณน้ำในตู้ก็จะน้อย ทำให้น้ำเสียเร็ว และคุณต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยไม่เช่นนั้นจะส่งผลเสียโดย
ตรงกับสุขภาพปลาของคุณ
     การเลือกขนาดตู้นั้นไม่มีกฏตายตัวว่าตู้ขนาดเ่ท่าไร ใช้เลี้ยงปลาทองได้กี่ตัว  ขึ้นอยู่กับระบบกรอง การให้อาหาร และการเปลี่ยนน้ำของตัวคุณเอง ขนาดตู้ที่แนะนำสำหรับผู้เลี้ยงทั่วไปคือ
 ตู้ 1ฟุต ต่อปลาทอง 1 ตัว เช่นถ้าคุณเลือกซื้อตู้ขนาด 24" หรือ 2 ฟุต  คุณควรเลี้ยงปลาแค่ 2 ตัว  ถ้ามากกว่านี้จะทำให้น้ำเสียเร็ว ปลาโตช้า ป่วยง่าย
     ขนาดตู้มาตรฐานที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป คือ 14"  20"  24"  36"  48"  60"  72"   ส่วนตู้ที่มีขนาดใหญ่กว่า 72" ขึ้นไปจะหาซี้อยากหรือต้องสั่งตัดเป็นพิเศษ
     ตู้ปลาจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตู้โล่ง และตู้กั้นกรอง
1. ตู้โล่ง  คือตู้ปลาทั้วไปที่ภายในตู้โล่ง ไม่มีการกั้นกรองภายใน

    ข้อดี   ราคาถูก
              สวยงามเพราะไม่มีกรองอยู่ภายในตู้
    ข้อเสีย  ต้องติดตั้งระบบกรองเพิ่ม
2. ตู้กั้นกรอง เป็นตู้ที่มีการใช้มุมด้านหลังอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือขวา ประกอบเป็นระบบกรองขึ้นมา โดยภายในจะแบ่งเป็นช่องเล็กอีกประมาณ 2-4 ช่อง เพื่อใส่วัสดุกรอง

    ข้อดี   เป็นระบบกรองในตัว ไม่ต้องติดตั้งระบบกรองเพิ่ม ไม่เปลืองพื้นที่
    ข้อเสีย  ราคาแพงกว่าตู้โล่ง
                 จัดตู้ให้สวยได้ยาก เพราะมีกรองอยู่ภายในตู้ อาจจะทำให้ขัดตาไปบ้าง

    ราคาตู้ปลา

#########################################################################


ฝาครอบตู้ปลา
     ฝาครอบตู้ปลา จะมีหรือไม่มีก็ำได้ โดยฝาครอบสำเร็จรูปโดยทั่วไป ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ปลากระโดดออกมานอกตู้ใช้เป็นโคมไฟในตัว และป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกหล่นลงไปในตู้
 เช่น ในกรณีที่เราฉีดยาฆ่าแมลง ถ้าไม่มีฝาิปิดตู้ที่มิดชิด ละอองของยาฆ่าแมลง อาจตกลงในตู้ปลาและเป็นอันตรายอย่างมากต่อปลาของคุณ

ข้อดี  ป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงไปในตู้
         เป็นโคมไฟในตัว
         ป้องกันปลากระโดดออกมานอกตู้
                                    จากรูปคือฝาตู้ทั่วไป มีโคมไฟในตัว

ข้อเสีย  ราคาแพง
            ระบายอากาศได้ไม่ดี จะทำให้น้ำมีอุณหภูมิ สูงขึ้นมากในฤดูร้อน
            เกะกะในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
            ไม่ได้รับความนิยมสำหรับตู้ที่ใช้เลี้ยงไม้น้ำ
#########################################################################


ระบบไฟส่องสว่าง
     ระบบไฟส่องสว่างนั้นใช้โคมไฟอะไรก็ได้ ขอเพียงให้สว่างมากพอให้คุณมองเห็นและดูแลปลาและตู้โดยรวมได้ก็พอ  ถ้าคุณเลือกใช้ฝาครอบตู้ปลาไม่จำเป็นต้องติดตั้งโคมไฟเำพิ่มเติม
เพราะโคมไฟที่ติดมากับฝาตู้นั้นก็เพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลา
     สำหรับท่านที่ไม่ใช้ฝาครอบตู้เพราะคิดว่าไม่มีความจำเป็น  ในปัจจุบันมีโคมไฟสำเร็จรูปขาย โดยออกแบบมาให้มีขนาดพอดีกับความยาวของตู้ หรือท่านใดมีฝีมือในทางช่างก็สามารถสร้าง
โคมไฟขี้นมาใช้เองก็ได้แต่ให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะโคมไฟนี้จะต้องอยู่ใกล้กับน้ำในตู้ปลาตลอด


#########################################################################


ปั้มลม(ปั้มอ๊อกซิเจน)
     มีไว้สำหรับเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำ มีหลายขนาดให้เลือก จำเป็นต้องมี เนื่องจากปลาทองเป็นปลาที่ต้องการอ๊อกซิเจนในน้ำมาก  และระบบกรองบางชนิดจำเป็นต้องใช้ปั้มลมในการทำงาน สำหรับผู้ที่่เลือกตู้้แบบกั้นกรอง อาจจะไม่ใช้ปั้มลมนี้ก็ได้ เนื่องจากกรองในตู้จะมีระบบดึงอากาศจากภายนอกเข้ามาในตู้อยู่่แล้ว
     อ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับปั้มลม คือ สายยาง(สายอ๊อกซิเจน) และหัวทราย


#########################################################################



ขาตั้งตู้ปลา
     ขาตั้งตู้ปลาสามารถใช้ขาตั้งแบบใดก็ได้ตามสะดวก แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือความแข็งแรงเป็นหลัก  โดยขาตู้ที่ได้รับความนิยมมากคือ
ขาตั้งเหล็กสำเร็จรูป

 ขาเหล็กสำเร็จรูป ที่มีขายทั่วไป

เป็นขาตู้ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทั่วไป มีความแข็งแรงพอสมควร น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีขนาดพอดีกับตู้ปลามาตรฐาน และราคาถูก แต่ขาตู้ประเภทนี้แนะนำให้ใช้กับตู้ปลาไม่เกิน 36" เท่านั้น เนื่องจากตู้ที่มีขนาด 48" ขึ้นไปจะมีน้ำหนักมาก ต้องใช้ขาตู้ที่ทำจากเหล็กกล่อง ที่มีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้ดีกว่า
        รูปขาตั้งตู้ปลาที่ทำจากเหล็กกล่องที่มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า เหมาะสำหรับตู้ 48" ขึ้นไป

     สำหรับท่านที่ชอบความสวยงามของไม้ ก็สามารถใช้ขาตั้งที่ทำจากไม้เนื้อแข็งได้ โดยให้คำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงในการรับน้ำหนักเป็นหลัก

 ขาไม้เนื้อแข็ง ที่มีความแข็งแรง

       ขาตั้งที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาดคือ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด เพราะไม้อัดทั่วไปที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ไม่มี ความแข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักของตู้ปลาได้ และที่สำคัญความชื้นและน้ำที่หกเลอะเทอะใน
ขณะเปลี่ยนน้ำจะทำให้ไม้อัดเปื่อยยุ่ย ไม่นานไม้อัดก็จะแอ่นกลาง และมีโอกาศสูงมากที่จะหัก
เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัดห้ามใช้
#########################################################################


หินรองพื้นตู้
     ในการเลี้ยงปลาทอง ผู้เลี้ยงบางส่วนจะไม่นิยมใช้หินรองพื้นตู้โดยปล่อยให้ตู้โล่งไปเลย  เนื่องจากดูแลความสะอาดได้ง่ายกว่า สามารถดูดเศษอาหารส่วนเกินได้ง่าย ไม่หมักหมม 
แต่ก็ยังมีผู้เลี้ยงอีกมากที่นิยมใช้หินรองพื้น เพื่อความสวยงามเป็นธรรมชาติ แต่ก็ต้องดูแลเรื่องความสะอาดมากหน่อย
      ปัจจุบันมีหินรองพื้นให้เลือกใช้หลายรูปแบบมาก แล้วแต่ความชอบและสไตล์การจัดตู้ของแต่ละคน
กรวดแม่น้ำ  เป็นกรวดก้อนเล็กค่อนข้างกลม มีโทนสีน้ำตาล ดูเป็นธรรมชาติ

หินนิลดำ  เป็นหินสีดำก้อนเล็ก ไม่กลม จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เหมาะสำหรับคนชอบโทนสีดำ และยังตัดกับสีของปลาทอง ทำให้ปลาดูเด่น

หินเกล็ด  จะมีเหลี่ยมคมมากกว่าหินนิลดำ ไม่ควรใช้เพราะเหลี่ยมคมอาจเป็นอันตรายกับปลาของคุณได้

กรวดแก้ว เป็นหินที่มีลักษณะกลมมน และเม็ดใหญ่ ถ้าใส่ในตู้เล็กจะดูไม่สวย เหมาะสำหรับตู้ใหญ่

ทรายขาว สำหรับคนที่ชอบโทนสีขาวสะอาด แต่ดูแลยากมาก จะดูสวยในแค่ในระยะแรกเท่านั้น ไม่นานก็กลายเป็นขาวหม่น และเหลือง หรือน้ำตาลไปเลย สุดท้ายก็ต้องรื้อตู้เปลี่ยนมาใช้หิน

หินย้อมสีต่างๆ เป็นหินที่ไม่ควรใช้ เนื่องจากสีที่ใช้ย้อมหิน เมื่ออยู่ในน้ำเป็นเวลานาน สีที่ย้อมจะละลายผสมน้ำออกมาเรื่อยๆ เป็นอันตรายโดยตรงกับปลาของคุณ

#########################################################################


ของประดับตกแต่งตู้ 
     สำหรับคนที่เลี้ยงตู้โล่งจะไม่นิยมใส่ของตกแต่ง แต่สำหรับคนที่มีหินรองพื้น อาจจะใส่ของตกแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม เช่น ก้อนหิน หรือขอนไม้ ต้นไม้น้ำสามารถใส่ได้แต่ว่าต้นไม้น้ำบางชนิดที่มีลักษณะใบเล็กๆ ก็จะกายเป็นอาหารว่างของปลาทองไปบ้าง ส่วนต้นไม้พลาสติก ก็สามารถใส่ได้แต่จะติดปัญหาที่ของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมา(อึ)จะไปพันกับพวกต้นไม้พลาสติก ทำให้ดูแลเรื่องความสะอาดยาก 


#########################################################################



ระบบกรอง
     ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นว่า ปลาทองเป็นปลาที่มีการขับถ่ายของเสียเยอะมาก รวมทั้งเศษอาหารที่ปลากินไม่หมดตกค้างในตู้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองหรือปลาสวยงามทุกชนิด ควรต้องมีระบบกรองเพื่อช่วยบำบัดของเสียในน้ำ เพื่อคุณภาพน้ำและสุขภาพที่ดีของปลา ถ้าตู้คุณไม่มีระบบกรอง การเลี้ยงปลา ย่อมต้องกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของคุณ
     ระบบกรองในการเลี้ยงปลาสวยงามมีหลายชนิด โดยจะมีหลักการทำงานและประสิทธิภาพในการบำบัดแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละชนิด
     ระบบกรองชนิดต่างๆ 
กรองใต้กรวด เป็นระบบกรองพื้นฐานในการเลี้ยงปลาสวยงาม หลักการทำงานคือใช้แรงดันลม สร้างการหมุนเวียนของกระแสน้ำภายในตู้ และกระแสน้ำจะดึงตะกอนในน้ำไปเก็บไว้ที่ใต้ตะแกรงพลาสติก

-----------------------------------------------------------------------------------------
 กรองฟองน้ำ ใช้หลักการแรงดันลมสร้างกระแสน้ำเหมือนกับกรองใต้กรวด แต่ว่าจะเก็บตะกอนไว้ในฟองน้ำแทน เหมาะกับตู้ที่จัดแบบตู้โล่งไม่มีกรวด 



--------------------------------------------------------------------------------------

กรองกระปุก  ใช้หลักการเดียวกันกับกรองใต้กรวดและกรองฟองน้ำ แต่จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดมากกว่า ตัวกรองจะมีลักษณะเป็นกระปุกพลาสติก ภายในมีช่องสำหรับใส่วัสดุกรอง ได้แก่ ใยแก้วสำหรับดักตะกอนขนาดใหญ่ และหินพัมมิส(หินภูเขาไฟ)มีไว้เพื่อใช้เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะทำหน้าทีบำบัดตะกอนขนาดเล็กในน้ำ

--------------------------------------------------------------------------------------

 กรองมุมตู้  เป็นกรองที่ติดมากับตู้ปลาสำหรับท่านที่เลือกตู้กั้นกรอง ภายในตังกรองจะถูกแบ่งออกเป็นช่องเล็กอีกประมาณ 3-4 ช่้อง มีไว้ใส่วัสดุกรอง 

  หลักการทำงานคือ ปั้มน้ำ(หมายเลข1)จะดูดน้ำในกรองเข้าไปในตู้หลัก เมื่อตู้หลักมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นก็จะล้นเข้ามาในกรอง โดยผ่านหวีกั้นน้ำ(หมายเลข2) เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหลุดเข้าไปในกรองด้วย หลังจากผ่านหวีกั้นน้ำ น้ำก็จะไหลลงมาที่ใยแก้ว(หมายเลข3)เพื่อทำหน้าทีกรองตะกอนในน้ำ จากนั้นน้ำก็จะไหลลงมาที่ไบโอบอล(หมายเลข4)เมื่อน้ำกระทบกับไบโอบอลน้ำก็จะแตกตัว เป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำ จากนั้นน้ำก็จะไหลลงมาที่หินพัมมิส(หมายเลข5)แบคทีเรียที่อยู่ในหินพัมมิสจะทำการบำบัด ตะกอนขนาดเล็กที่ปนอยู่ในน้ำ หลังจากนั้นน้ำก็จะลงมาที่ช่อง 6 เพื่อให้ปั้มน้ำดูดไปที่ตู้หลัก และจะวนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา






--------------------------------------------------------------------------------------
 กรองแขวน เป็นกรองขนาดเล็กที่ออกแบบ มาให้แขวนอยู่นอกตู้ จะได้ไม่ต้องมีกรองอยู่ในตู้ให้เกะกะสายตา แต่เพราะความที่เป็นกรองตัวเล็ก จึงทำให้ใส่วัสดุได้น้อย และเหมาะกับตู้ไม่เกิน 24" ถ้าเป็นตู้ใหญ่กว่านี้จะต้องใช้มากกว่า 1 ตัว ซึ่งไม่เป็นที่นิยม
     หลักการทำงานคือ ใช้ปั้มน้ำ(หมายเลข2)ดูดน้ำจากตู้หลักขึ้นมาโดยผ่านท่อ(หมายเลข1) ผ่านใยแก้ว(หมายเลข3)เพื่อกรองตะกอนในน้ำ และไหลเข้าผ่านหินพัมมิสในช่องที่4 และ 5 และไหลลงตู้หลักโดยผ่านสะพานน้ำ(หมายเลข6)   เนื่องจากกรองแขวนเป็นกรองขนาดเล็กใส่วัสดุกรองได้น้อย ไม่จำเป็นต้องใส่ไบโอบอลก็ได้ ใส่พัมมิสที่เป็นที่อยู่ของแบคที่เรียแทนจะมีประโยชน์กว่ามาก

-----------------------------------------------------------------------------------------
กรองนอก เป็นกรองที่ถือว่ามีประสิทธิภาพอีกหนึ่งชนิด เนื่องจากเป็นกรองขนาดใหญ่ ใส่วัสดุกรองได้มาก ตัวกรองตั้งอยู่ด้านนอกตู้ ไม่เกะกะสายตา แต่ราคาก็แพงตามไปด้วย
หลักการทำงาน น้ำจากตู้หลักละไหลตามสายยางมาเข้าตัวกรอง โดยอาศัยหลักการกาลักน้ำ
จากนั้นน้ำก็จะไหลผ่านใยแก้วเพื่อกรองตะกอนในน้ำ แล้วก็ำไหลขึ้นไปผ่าน ขึ้นไปที่หินพัมมิส ให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในหินพัมมิสเป็นตัวบำบัดตะกอนเล็กๆ ในน้ำ
 


-----------------------------------------------------------------------------------------
กรองถัง เป็นกรองอีกหนึ่งชนิดที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง ใส่วัสดุกรองได้เยอะ ดูแลรักษาง่าย ราคาไม่แพงมาก
   หลักการทำงานคือ ต้องวางถังกรองให้อยูสูงกว่าตู้ปลา ปั้มน้ำในตู้หลักจะดูดน้ำขึ้นไปเข้าถังกรอง และน้ำก็จะไหลลงผ่านใยแก้วเพื่อกรองตะกอนในน้ำ และไหลต่อมายังไบโอบอลเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจน และไหลลงมาที่หินพัมมิส เพื่อใ้้ห้แบคทีเีรียในหินบำบัดตะกอนขนาดเล็ก และก็ไหลกลับลงตู้หลัก
   ข้อเสียของกรองชนิดนี้คือต้องวางให้อยู่สูงกว่าตู้หลัก จำเป็นต้องมีพื้นที่รองรับ อาจจะดูเกะกะและไม่สวยงาม


-----------------------------------------------------------------------------------------
#########################################################################

อาหาร
    สิ่งสำคัญในการเลี้ยงอีกอย่างหนึ่งก็คืออาหารปลา ปลาทองนั้นสามารถกินได้ทั้งอาหารสดและอาหารเม็ดสำเร็จรูป ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่นิยมให้อาหารเม็ดเป็นหลัก เพื่อความสะดวก แต่ก็ควรเสริมด้วยอาหารสดบ้าง เพื่อโภชนาการที่ครบถ้วน
    อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในปัจจุบันมีอาหารเม็ดสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย โดยมีคุณค่าทางโภชนาการและราคาที่แตกต่างกันไป หลักการเลือกก็คือ ดูที่ส่วนประกอบหลักที่ระบุไ้ว้ข้างซอง ให้สังเกตุดูว่าอาหารเม็ดที่ดี จะต้องมีส่วนประกอบของโปรตีนไม่น้อยกว่า 40% ถ้าน้อยกว่านี้จะทำให้ปลาโตช้า ไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่าที่ควร
 
    อาหารสด ปลาทองนับเป็นปลาที่กินอาหารสดได้หลากหลายมาก เช่น หนอนแดง ไรน้ำ ใส้เดือนน้ำ ลูกน้ำ เต้าหู้ไข่ไก่ ถึงแม้อาหารสดจะให้คุณค่าทางโภชนาการสูง และมีสารเร่งสีตามธรรมชาติ แต่ก็มีข้อเสียเรื่องความสะอาด อาจจะเชื้อโรคปนเปื้อนมากับอาหารสด หรืออาหารเน่าเสียง่าย ก่อนให้ควรทำความสะอาดอาหารใ้ห้ดี และดูดเศษที่ปลากินเหลือออกให้หมด
#########################################################################